วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประชาสัมพันธ์

เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่งวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2553
สมัครได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คุณสุรีภรณ์ พรมทา (089-59-58-564)

รายละเอียดค่าใช้จ่าย สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

* หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต)

Graduate Diploma in Teaching Profession Program
ค่าเรียนเหมาจ่าย 33,600 บาท

* หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (M.P.A.)

Master of Public Administration Program
ค่าเรียนเหมาจ่าย 114,600 บาท

* หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (M.Ed.)

Master of Education Program in Educational Administration
ค่าเรียนเหมาจ่าย 99,000 บาท

* หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.)

Master of Business Administration Program in Management
ค่าเรียนเหมาจ่าย 107,200 บาท

* มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่าย ซึ่งจะแจ้งล่วงหน้าให้นักศึกษาทราบต่อไป

เงื่อนไขการสมัครเรียน

* นักศึกษาใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาชำระค่าลงทะเบียนขั้นต่ำ 5,000 บาท
* ค่าธรรมเนียมการสมัคร 300 บาท
* เอกสาร ประกอบการสมัคร ประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน Transcript ระดับปริญญาตรี รูปถ่าย 2 นิ้ว 4 ใบ และอื่น ๆ (ถ้ามี)


ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู
ภาษาอังกฤษ Graduate Diploma in Teaching Profession Program
ประกาศนียบัตร
ภาษาไทย
ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
อักษรย่อ ป.บัณฑิต วิชาชีพครู
ภาษาอังกฤษ Graduate Diploma in Teaching Profession
อักษรย่อ
Grad. Dip. Teaching Profession
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาบังคับ
18 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 3-6 หน่วยกิต



ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ Master of Public Administration Program
ประกาศนียบัตร
ภาษาไทย
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
อักษรย่อ รป.ม.
ภาษาอังกฤษ Master of Public Administration
อักษรย่อ
M.P.A.
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาบังคับ
21 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 3-6 หน่วยกิต
หมวดวิชาการศึกษาอิสระ / วิทยานิพนธ์ 6 / 12 หน่วยกิต

top..

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย 1. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
2. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ 1. Master of Education Program in Educational Administration
2. Master of Education Program in Curriculum and Instruction Development
ประกาศนียบัตร
ภาษาไทย
1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้)
อักษรย่อ 1. ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)
2. ศษ.ม. (การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้)
ภาษาอังกฤษ Master of Education (Educational Administration)
Master of Education (Curriculum and Instruction Development)
อักษรย่อ
M.Ed. (Educational Administration)
M.Ed. (Curriculum and Instruction Development)
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาบังคับ
21 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 6-12 หน่วยกิต
หมวดวิชาการศึกษาอิสระ / วิทยานิพนธ์ 6 / 12 หน่วยกิต

top..

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
ภาษาอังกฤษ Master of Business Administration Program in Management
ประกาศนียบัตร
ภาษาไทย
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ)
อักษรย่อ บธ.ม. (การจัดการ)
ภาษาอังกฤษ Master of Business Administration (Management)
อักษรย่อ
M.B.A. (Management)
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาบังคับ
21 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 6-12 หน่วยกิต
หมวดวิชาการศึกษาอิสระ / วิทยานิพนธ์ 6 / 12 หน่วยกิต

top..

รายละเอียดวิชาในหลักสูตร Master of Business Administration (Management)

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา หลักเศรษฐศาสตร์ สถิติเบื้องต้น
คอมพิวเตอร์สำหรับบัณฑิตศึกษา หลักการบัญชี
หมวดวิชาแกน (21 หน่วยกิต)

การบริหารองค์การเชิงบูรณาการ การบริหารการผลิตและดำเนินการ การบริหารการเงิน
การบริหารการตลาด การบัญชีเพื่อผู้บริหาร ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
หมวดวิชาเลือก (12 หน่วยกิต)

การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ การเป็นผู้ประกอบการ
การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการมาตรฐาน
เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ การวางแผนและการบริหารโครงการ สัมมนาทางการจัดการ
วิทยานิพนธ์สำหรับ แผน ก (12 หน่วยกิต) หรือ การศึกษาอิสระ สำหรับแผน ข ( 6 หน่วยกิต)

หัวข้อของการพิมพ์บทความการวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา

................................

1. ชื่อเรื่องภาษาไทย

2. ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

3. ชื่อผู้วิจัย และอาจารย์ที่ปรึกษา

4. บทคัดย่อ (ภาษาไทย)

5. Abstract

6. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

7. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

8. สมมติฐานของการวิจัย

9. กรอบแนวคิดในการวิจัย

10. วิธีดำเนินการวิจัย

10.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

10.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

10.3 การหาคุณภาพเครื่องมือ

10.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

11. สรุปผลการวิจัย

12. อภิปรายผล

13. ข้อเสนอแนะ

14. บรรณานุกรม (เฉพาะเล่มที่อ้างอิงในบทความวิจัยนี้เท่านั้น)



ตัวอย่างบทความวิจัย ของมหาวิทยาลัยอีสาน

..........................



การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2

Personal Administration in the Basic schools at Phon Phisai District, Under the office of Nong Khai Educational Service Area 2.



ณัชฐานีย์ คนงาม* ดร.ยืนยง ไทยใจดี** ดร.กัลยา ยศคำลือ**

________________________________________________________________________________



บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหา การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาอิสระ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 30 คน และครูผู้สอน จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test (Independent Samples) และ F – test (One-way

ANOVA)

ผลการศึกษาพบว่า

1. สภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง รองลงมาคือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการออกจากราชการ

2. ปัญหาการดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับน้อยทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีปัญหาสูงสุดคือ ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง รองลงมาคือ ด้านการวางแผนอัตรา

กำลังและกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีปัญหาต่ำสุดคือ ด้านการออกจากกราชการ

3. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยผู้บริหารสถานศึกษาเห็นว่ามีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน

4. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

________________________________________________________________________________

* มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสาน

** อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสาน

** อาจารย์พิเศษหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสาน



5. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยผู้บริหารสถาน

ศึกษาเห็นว่ามีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน

6. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

7. แนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้ ควรวิเคราะห์ภารกิจและประเมินสภาพความต้องการกำลังคนกับภารกิจของโรงเรียน ควรกระจายอำนาจให้สถานศึกษามีอำนาจในการสรรหาและเสนอบรรจุแต่งตั้ง ควรสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผลงานในการเลื่อนวิทยาฐานะอย่างต่อเนื่อง และควรให้ความรู้และแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ



คำสำคัญ : การบริหารงานบุคคล



ABSTRACT

The purposes of this research were to study and compare the state and problem of personal administration in the basic schools at Phon Phisai District, Under the office of Nong Khai Educational Service Area 2. Samples were 30 administrators and 233 teachers. Research instruments were a rating scale questionnaire with reliability at 0.97. Collected data were analyzed by percentages, mean, standard deviations t – test (Independent Samples) and F-test

The findings were :

1. The state of the personnel management in basic school were at the high level on the parts and the wholes. The highest order was planning and setting for position. The second order was promotion the efficiency of working and the lowest order was the retirement.

2. The problem of the personnel management in basic school were at the less level on the parts and the wholes. The highest order was the recruitment and assignment. The second order was planning and setting for position, and the lowest order was retirement.

3. The comparison of the state of the personnel management in basic school between the administrators and the teachers were significant different at .01 level on the parts and the wholes by the opinion of administrators were higher than teachers.

4. The comparison of the state of the personnel management in basic school between the personal form different size schools were not different on the parts and the wholes.

5. The comparison of the problem of the personnel management in basic school between the administrators and the teachers were significant different at .01 level on the parts and the wholes by the opinion of administrators were lower than teachers.

6. The comparison of the problem of the personnel management in basic school between the personal form different size schools were not different on the parts and the wholes.

7. The guideline to solve the problem of the personal management in basic school

were : the school ought to make the job analysis and evaluate of manpower with school job, ought to delegate the recruitment and assignment to school, ought support the personal to self – development for growth up the position and ought to give the knowledge and how to keep the government disciplines.



Keyword : Personal Administration



ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจของการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารหน่วยงานประเภทใด ถ้าการบริหารทรัพยากรมนุษย์บกพร่องหน่วยงานนั้น ๆ จะเจริญก้าวหน้าได้โดยยากเพราะงานทุกชนิดจะได้ผลดีหรือผลเสียก็อยู่ที่บุคคลที่รับงานไปทำ ถ้าบุคคลที่รับงานไปขาดขวัญกำลังใจหย่อนสมรรถภาพงานมักจะบกพร่องหรือขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นนักบริหารที่ดีจะต้องบริหารงานบุคคลให้ได้ผลดีและได้รับความสำเร็จในการทำให้บุคลากรทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุไปสู่เป้าหมายของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ (พนัส หันนาคินทร์, 2546 : 133-134) ซึ่งโรงเรียนเป็นองค์กรหนึ่งของสังคมที่ต้องดำเนินการบริหารงานเพื่อให้การศึกษาสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยบุคลากรเข้าช่วยในการดำเนินการ เพราะคุณภาพของการบริหารการศึกษาจะสูงหรือต่ำเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับบุคลากรที่ทำหน้าที่ในองค์การนั้น ที่ผ่านมาการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนเมื่อปฏิบัติงานไประยะหนึ่งมักจะหย่อนสมรรถภาพ เบื่อหน่ายอันเป็นเหตุให้ทำงานไม่เต็มที่ โดยเฉพาะถ้าครูขาดความกระตือรือร้นในเรื่องการเรียนการสอนย่อมทำให้การศึกษาขาดคุณภาพ จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาครูด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ (สุธีระ ทานตวนิช, 2549 : 52 ) และปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพคือ การศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสันติสุขสามารถเกื้อหนุนการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านของประเทศ โดยนัยดังกล่าวความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาจึงเน้นการพัฒนาบุคคลใน 4 ด้าน อย่างสมดุลและกลมกลืนกัน ได้แก่ ด้านปัญญา บุคคลที่ได้รับการศึกษาพึงเป็นผู้มีปัญญา คือ รู้จักเหตุและผลรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี คุณและโทษ สิ่งที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ รู้จักแก้ปัญหาได้อย่างฉลาด รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และหลากหลาย มีความคิดสร้างสรรค์ใฝ่เรียนใฝ่รู้ เพื่อความก้าวหน้าทางความรู้และวิทยาการต่าง ๆ รู้คุณค่าของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของสังคมไทยและรู้จักเลือกรับวิทยาการและวัฒนธรรมจากภายนอก ด้านจิตใจ บุคคลที่ได้รับการศึกษา พึงรู้จักฝึกจิตใจของตนให้มีความเจริญงอกงามทางคุณธรรม มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ มีสมาธิและมีความอดทนหนักแน่นอันจะ เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่การงาน และการดำรงชีวิต ด้านร่างกาย บุคคลที่รับการศึกษา พึงมีร่างกายเจริญเติบโต เหมาะสมกับวัยรู้จัก ดูแลรักษาของร่างกายให้เหมาะสมกับการงานและอาชีพ และด้านสังคม บุคคลที่รับการศึกษาพึงมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีงาม ทั้งในการทำงานและการอยู่ร่วมกันในครอบครัว องค์กรและสังคม รู้จักการช่วยเหลือเกื้อกูลประโยชน์แก่กันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัว สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมรวมทั้งสามารถใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศได้ สามารถธำรงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย ตระหนักและปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อผู้อื่น ต่อสังคมและต่อมวลมนุษยชาติ รู้จักและเคารพในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ตลอดจนร่วมส่งเสริมบทบาทของประเทศในประชาคมโลกตามแนวทางที่เหมาะสม (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2550 : 185 - 186)

ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตหรือการดำเนินกิจการของหน่วยงาน การที่จะได้ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการและการวางแผนที่ดี ทั้งนี้เพราะการวางแผนบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ คือ ทำให้องค์การสามารถพยากรณ์เกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ซึ่งถ้าได้คาดการณ์ก็จะมีการเตรียมการเตรียมมาตรฐาน เพื่อรองรับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ทำให้ปัญหาที่องค์การจะต้องเผชิญในอนาคตด้านกำลังคนลดความรุนแรงลงได้ ยังผลให้องค์การสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นคงท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น องค์การสามารถจัดปริมาณ ประเภท และระดับทักษะของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้เหมาะสมกับงานในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมที่กำหนด ซึ่งจะเป็นผลให้ทั้งองค์การและบุคลากรมีการปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ (Efficiency) โดยได้รับผลประโยชน์สูงสุดในระยะยาว องค์การสามารถวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานในแต่ละกลุ่มงานและในแต่ละระดับความรับผิดชอบได้ช่วยให้พนักงานมีความพึงพอใจในการทำงาน องค์การทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีการปรับการใช้กำลังคนให้ยืดหยุ่นตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป อีกทั้งเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เข้ากับกระบวนการวางแผนเชิง กลยุทธ์ขององค์การ แผนทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์เปรียบเสมือนเข็มทิศชี้นำการปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (สุนันทา เลาหนันทน์, 2551 : 88-89)

ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 35 ได้กำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นผลให้ภารกิจอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารบุคคล ปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไปไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง โดยให้อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาและของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เป็นอำนาจโดยแท้ตามกฎหมายกำหนด โดยมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในภารกิจของสถานศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านบริหารงานทั่วไป ซึ่งเป้าหมายของการจัดการศึกษาอยู่ที่การพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น “คนเก่ง คนดี และมีความสุข” การที่ผู้เรียนจะมีคุณลักษณะตามเป้าหมายของการศึกษาได้นั้น ตัวครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญที่จะพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยครูผู้สอนจะต้องมีความเหมาะสม มีความรู้ ความสามารถตั้งแต่เริมทำงานจนกระทั่งออกจากระบบงาน

กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดกรอบการบริหารงานบุคคลไว้ดังนี้ การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาเป็นภารกิจสำคัญที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของสถานศึกษา เพื่อดำเนินการบริหารงานบุคคลให้เกิดความคล่องตัว อิสระภายใต้กฎหมาย ระเบียบ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา มีความรู้ ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติมีความมั่นคงและก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้บริหารโรงเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องดำเนินการในภารกิจหลัก คือ การวางแผนอัตรากำลังและ การกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัยและการออกจากราชการ แต่งานบริหารบุคคลเป็นงานที่ยุ่งยากและซับซ้อนเพราะต้องทำงานเกี่ยวข้องกับคน ซึ่งมีความรู้ความสามารถตลอดจนมีความสำนึกแตกต่างกัน และที่สำคัญคนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ มีอารมณ์ ผู้บริหารจึงต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารบุคคล ซึ่งปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการวางแผนการบริหารบุคลากร ปัญหาการสรรหาและการแต่งตั้งบุคลากร ปัญหาการพัฒนาบุคลากร ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงาน ปัญหาการให้บุคลากรพ้นจากงาน และปัญหาการควบคุม กำกับ ติดตาม และนิเทศบุคลากร (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2550 : 51-52)

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการบริหารงานบุคคล ตามการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล เป็นเรื่องใหม่และมีการดำเนินงานเพื่อการบริหารหลายขั้นตอน ผู้วิจัยเป็นบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับบุคลากร จึงต้องการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอวังโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับพิจารณาปรับปรุงงานบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2

2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา

3. เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2

สมมติฐานของการวิจัย

1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 แตกต่างกัน

2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 แตกต่างกัน

3. บุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 แตกต่างกัน

4. บุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 แตกต่างกัน



กรอบแนวคิดในการวิจัย

การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ

การบริหารงานบุคคล อย่างหลากหลาย และได้ใช้แนวทางในการบริหารงานบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547 : 46) มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ดังนี้

วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 820 คน จำแนกเป็น

1.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน

1.1.2 ครูผู้สอน จำนวน 750 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสถานภาพ โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครชซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 608 อ้างอิงในพรรณี ลีกิจวัฒนะ, 2549 : 72) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 263 คน จำแนกเป็น

1.2.1 ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน

1.2.2 ครูผู้สอน จำนวน 233 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

หนองคาย เขต 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ( Checklist)

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open End)

3. การหาคุณภาพเครื่องมือ

3.1 นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบตรงเชิงเนื้อหา และหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Index of Objective Congruence : IOC) ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80 –1.00

3.2 นำแบบสอบถามไปลองใช้ (Try Out) กับผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโซ่พิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 จำนวน 30 คน แล้ว มาหาอำนาจจำแนก (Discrimination Power) ได้ค่าระหว่าง 0.42 – 0.82 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability)โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา(Coefficient) ตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ใช้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ตามลำดับดังนี้

1. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามตอนที่ 1 เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าความถี่ และร้อยละ

2. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามตอนที่ 2 เกี่ยวกับสภาพการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการหาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

3. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามตอนที่ 3 เกี่ยวกับปัญหาการบริหารบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการหาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

4. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพโดยใช้ t – test (Independent Samples) และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยใช้การเปรียบเทียบความแปรปรวนของค่าเฉลี่ย F – test หากพบความแตกต่างก็หาความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของ

เชฟเฟ’ (Scheffe’)

5. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามตอนที่ 4 เกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ และวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)



สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. สภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง รองลงมาคือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการออกจากราชการ

2. ปัญหาการดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับน้อยทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีปัญหาสูงสุดคือ ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง รองลงมาคือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีปัญหาต่ำสุดคือ ด้านการออกจากราชการ

3. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยผู้บริหารสถานศึกษาเห็นว่ามีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน

4. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

5. การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินการบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยผู้บริหารสถานศึกษาเห็นว่ามีปัญหาต่ำกว่าครูผู้สอน

6. การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

7. แนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้ ควรวิเคราะห์ภารกิจและประเมินสภาพความต้องการกำลังคนกับภารกิจของโรงเรียน ควรกระจายอำนาจให้สถานศึกษามีอำนาจในการสรรหาและเสนอบรรจุแต่งตั้ง ควรสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผลงานในการเลื่อนวิทยาฐานะอย่างต่อเนื่อง และควรให้ความรู้และแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ



อภิปรายผล

1. จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า สภาพการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า การบริหารงานบุคคลเป็นปัจจัยพื้นฐานของการบริหาร ที่มีความสัมพันธ์ และมีค่าสูงสุดของกระบวนการบริหาร หรือวิธีการบริหารองค์การโดยทั่วไป เพราะความสำเร็จของงานนั้นขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์ ที่จะพัฒนาคุณภาพของการศึกษาให้มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์การ การบริหารสถานศึกษาจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลกร หากบุคลากรของสถานศึกษาใดเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถก็จะทำให้สถานศึกษานั้นมีการพัฒนาไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตรงกันข้ามหากสถานศึกษาแห่งใดมีบุคลากรที่ขาดคุณภาพ ก็จะทำให้สถานศึกษานั้นไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร สถานศึกษาทุกแห่งจึงให้ความสำคัญกับการบริหารบุคลากรในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการบุคลากร การสรรหาบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนาบุคลากร จนถึงการออกจากราชการ ทำให้การบริหารงานบุคคลอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพนม พงษ์ไพบูลย์ (2546 : 196) ที่กล่าวว่าบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการบริหารด้านบุคคลเป็นกระบวนการหนึ่งของการบริหาร ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานสามารถดึงดูดและบำรุงรักษาคนดีมีความรู้ความสามารถไว้ในหน่วยงานให้มากที่สุดและนานที่สุดเท่าที่หน่วยงานต้องการ การจะทำเช่นนี้ได้หน่วยงานจะต้องมีการบริหารงานบุคคลที่ดีเป็นส่วนสำคัญของการบริหาร และสอดคล้องกับงานวิจัยของ มัทติกา หมื่นสา (2544 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องความคิดเห็นของข้าราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล พบว่า ความคิดเห็นของข้าราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ทั้ง 8 ด้าน ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก

2. จาการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับน้อยทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า สถานศึกษาทุกแห่งให้ให้ความสำคัญกับการบริหารงานบุคคล ได้ดำเนินงานตามระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการบริหารงานบุคคลที่ได้กำหนดไว้ทุกขั้นตอน เมื่อบุคลากรได้บรรจุแต่งตั้งเข้าทำงานแล้วก็มีการพัฒนาบุคลากรเหล่านั้นให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การบริหารงานบุคคลในด้านต่าง ๆ มีปัญหาในระดับน้อย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ วิจิตร ศรีสะอ้าน ( 2544 : 34) ที่กล่าวว่า การบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็คล้ายกับการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไป จะต่างกันตรงที่วิธีการและกระบวนการในรายละเอียดเป็นของข้าราชการครู โดยเฉพาะกฎหมายกำหนดให้เป็นเช่นนั้น โดยในการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องดำเนินงานบริหารงานบุคคลให้มากในทุก ๆ ด้าน จะทำให้ปัญหาการบริหารงานในสถานศึกษาน้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของเกียรติศักดิ์ วงศ์กุลพิลาศ (2545 : บทคัดย่อ) ทำการวิจัยเรื่อง ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ทั้งในภาพรวมและรายด้าน และสอดคล้องกับงานวิจัยของอธึก พึ่งเสือ (2545 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องปัญหาและข้อเสนอการแก้ไขการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี พบว่า ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี มีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ทั้งในภาพรวมและรายด้าน

3. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคลตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยผู้บริหารสถานศึกษาเห็นว่ามีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า เพราะว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้นำสูงสุดในสถานศึกษา เป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ในการบริหารงาน โดยมักจะมองว่าการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ในสถานศึกษาเป็นไปด้วยดี มีการปฏิบัติมากทุก การบริหารงานบุคคลตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการการส่งเสริมให้บุคลากรมีวินัยและการรักษาวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาก็มองว่าตนเองได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ส่วนครูผู้สอนจะมองว่าการดำเนินงานบริหารบุคคลทำให้ไม่มากเท่าที่ควร จึงทำให้ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศิริลักษณ์ วิชยพงษ์ (2546 : บทคัดย่อ) ได้ทำวิจัยเรื่องการศึกษาการบริหารงานบุคลากร สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการบริหารงานบุคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน โดยผู้บริหารสถานศึกษาเห็นว่าทีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน

4. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสถานศึกษาทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก จะต้องดำเนินการบริหารงานบุคคลตามระเบียบและกฎเกณฑ์อันเดียวกัน ไม่ว่าด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง หรือด้านการออกจากงาน สถานศึกษาทุกขนาดต่างก็ถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันเดียวกัน ทุกโรงเรียนดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน รวมทั้งด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สถานศึกษาทุกขนาดต่างก็ดำเนินการเสริมสร้างคุณภาพของบุคลากรโดยการจัดปฐมนิเทศ จัดอบรมพัฒนากรบุคลากรภายในโรงเรียน และส่งบุคลากรไปอบรมพัฒนาตามโครงการที่หน่วยงานภายนอกจัดขึ้น ส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองโดยการศึกษาต่อ หรือศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกัน จึงทำให้ความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันทั้ง 3 ขนาดต่อสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคล ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของประสงค์ เอี่ยมเวียง (2548 : 159) ทำวิจัยเรื่อง การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อสภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 ตามขอบข่ายภารกิจงาน 5 ประการ ได้แก่ การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัยและการออกจากราชการ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันทั้ง 3 ขนาดคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ต่อสภาพการดำเนินการบริหารงานบุคคล ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

5. การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินการบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้านโดยผู้บริหารสถานศึกษาเห็นว่ามีปัญหาต่ำกว่าครูผู้สอน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้นำสูงสุดในสถานศึกษา เป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ในการบริหารงาน โดยมักจะมองว่าการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ในสถานศึกษาเป็นไปด้วยดี มีการปฏิบัติมากทุกอย่าง การบริหารงานบุคคลตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการการส่งเสริมให้บุคลากรมีวินัยและการรักษาวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาก็มองว่าตนเองได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ส่วนครูผู้สอนจะมองว่าการดำเนินงานบริหารบุคคลที่ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการพัฒนาบุคลากร สถานศึกษายังส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้พัฒนาไม่มากเท่าที่ควร การพัฒนาศักยภาพในการเลื่อนระดับก็เป็นเรื่องที่ตนเองต้องดิ้นรนด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ มีปัญหาอยู่มากในการทำงาน สถานศึกษายังไม่มีส่วนสนับสนุนเท่าที่ควร จึงทำให้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการบริหารงานแตกต่างกันทุกด้าน โดยครูผู้สอนเห็นว่ามีปัญหาสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เกียรติศักดิ์ วงศ์กุลพิลาศ (2545 : บทคัดย่อ) ทำการวิจัยเรื่อง ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ฉลอม แผลงเดช (2545 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า วิจัยเรื่อง ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี พบว่า พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน

6. การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินการบริหารงานบุคคลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสถานศึกษาทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก จะต้องดำเนินการบริหารงานบุคคลตามระเบียบและกฎเกณฑ์อันเดียวกัน ไม่ว่าด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง หรือด้านการออกจากงาน สถานศึกษาทุกขนาดต่างก็ถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันเดียวกัน ทุกโรงเรียนดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน รวมทั้งด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สถานศึกษาทุกขนาดต่างก็ดำเนินการเสริมสร้างคุณภาพของบุคลากรโดยการจัดปฐมนิเทศ จัดอบรมพัฒนากรบุคลากรภายในโรงเรียน และส่งบุคลากรไปอบรมพัฒนาตามโครงการที่หน่วยงานภายนอกจัดขึ้น ส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองโดยการศึกษาต่อ หรือศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกัน จึงทำให้ความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันทั้ง 3 ขนาดต่อปัญหาการดำเนินการบริหารงานบุคคล ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสมโภชน์ นิลประภา (2543 : บทคัดย่อ) ทำการวิจัยเรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเขตการศึกษา 12 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 12 ตามขอบข่ายภารกิจงาน 5 ประการ ได้แก่ การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัยและการออกจากราชการ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานบริหารงานบุคคล ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันทั้ง 3 ขนาดคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ต่อปัญหาการดำเนินการบริหารงานบุคคล ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน



ข้อเสนอแนะ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น ผู้วิจัยจึงนำมาเสนอแนะสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

1.1 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า วิเคราะห์ภารกิจและประเมินสภาพความต้องการกำลังคนกับภารกิจของโรงเรียน เป็นข้อที่มีการปฏิบัติต่ำสุดในด้านด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง สถานศึกษาควรได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลากรในสถานศึกษา วิเคราะห์ภารกิจและประเมินสภาพความต้องการกำลังคนกับภารกิจของโรงเรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการขอบรรจุแต่งตั้งบุคลากร

1.2 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การจ้างลูกจ้างชั่วคราวของโรงเรียนโดยใช้เงินรายได้ของโรงเรียนมีการดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด เป็นข้อที่มีการปฏิบัติต่ำสุดในด้านด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง สถานศึกษาควรวิเคราะห์ความจำเป็นที่จะต้องจ้างลูกจ้างชั่วคราว หากมีความจำเป็นมากควรใช้เงินรายได้ของโรงเรียนจ้างลูกจ้างชั่วคราวตามความจำเป็นและเหมาะสม

1.3 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การปฐมนิเทศแก่ผู้ได้รับการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน เป็นข้อที่มีการปฏิบัติต่ำสุดในด้านด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ สถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาแก่บุคลากรที่บรรจุใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการปฏิบัติงาน โดยการให้การปฐมนิเทศแก่บุคลากรที่บรรจุใหม่ทุกคน

1.4 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า รายงานการดำเนินงานทางวินัยไม่ร้ายแรงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นข้อที่มีการปฏิบัติต่ำสุดในด้านด้านวินัยและการรักษาวินัย สถานศึกษาควรรายงานการดำเนินงานหากมีการดำเนินการทางวินัยกับบุคลากรไปยังเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมการบริหารงานด้านบุคลากร

1.5 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ดำเนินการลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้กระทำผิดทางวินัยตามอำนาจหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด เป็นข้อที่มีการปฏิบัติต่ำสุดในด้านออกจากราชการ สถานศึกษาควรบริหารบุคลากรให้เป็นตามระเบียบและกฎเกณฑ์ ของ ก.ค. หากมีบุคลากรที่ปฏิบัติตนที่ขาดวินัยก็ควรดำเนินการสืบสวน และสอบสวน เพื่อเสนอขอให้ลงโทษทางวินัยแก่บุคคลนั้นตามความเหมาะสม

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2

2.2 ควรศึกษาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น

2.2 ควรศึกษาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 ในเชิงคุณภาพ โดยวิธีการเก็บข้อมูลเชิงลึกจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

2.3 ควรศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2

2.4 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2



บรรณานุกรม



เกียรติศักดิ์ วงศ์กุลพิลาศ. ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน

การประถมศึกษาอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหาร

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2545.



ฉลอง แผลงเดช. ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการ

ประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการ บริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2545.

ประสงค์ เอี่ยมเวียง. การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2.

วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฎเลย, 2548.

พนม พงษ์ไพบูลย์. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมศาสนา, 2546.

พนัส หันนาคินทร์. การบริหารบุคคลในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : พิฆเนศ, 2546.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2549.

มัทติกา หมื่นสา. ความคิดเห็นของข้าราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เกี่ยวกับ

การบริหารงานบุคคล เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์

อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเ

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2544.

วิจิตร ศรีสะอ้าน. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544.

ศิริลักษณ์ วิรชยพงษ์. การศึกษาการบริหารงานบุคลากร สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา.

วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฎนครราชสีมา, 2546.

สมโภชน์ นิลประภา. สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด

สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 12. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการ

บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2543.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,

2547.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2550.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว, 2550.

สุนันทา เลาหนันทน์. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ

เจ้าพระยา , 2551.

สุธีระ ทานตวนิช. การบริหารงานโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : สตรีเนติศึกษา, 2549.

อธึก พึ่งเสือ. ปัญหาและข้อเสนอการแก้ไขการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหาร

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2545.

ข่าวประชาสัมพันธ์

เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่งวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2553
สมัครได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คุณสุรีภรณ์ พรมทา (089-59-58-564)


รายละเอียดค่าใช้จ่าย สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

* หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต)

Graduate Diploma in Teaching Profession Program
ค่าเรียนเหมาจ่าย 33,600 บาท

* หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (M.P.A.)

Master of Public Administration Program
ค่าเรียนเหมาจ่าย 114,600 บาท

* หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (M.Ed.)

Master of Education Program in Educational Administration
ค่าเรียนเหมาจ่าย 99,000 บาท

* หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.)

Master of Business Administration Program in Management
ค่าเรียนเหมาจ่าย 107,200 บาท

* มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่าย ซึ่งจะแจ้งล่วงหน้าให้นักศึกษาทราบต่อไป

เงื่อนไขการสมัครเรียน

* นักศึกษาใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาชำระค่าลงทะเบียนขั้นต่ำ 5,000 บาท
* ค่าธรรมเนียมการสมัคร 300 บาท
* เอกสาร ประกอบการสมัคร ประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน Transcript ระดับปริญญาตรี รูปถ่าย 2 นิ้ว 4 ใบ และอื่น ๆ (ถ้ามี)


ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู
ภาษาอังกฤษ Graduate Diploma in Teaching Profession Program
ประกาศนียบัตร
ภาษาไทย
ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
อักษรย่อ ป.บัณฑิต วิชาชีพครู
ภาษาอังกฤษ Graduate Diploma in Teaching Profession
อักษรย่อ
Grad. Dip. Teaching Profession
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาบังคับ
18 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 3-6 หน่วยกิต



ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ Master of Public Administration Program
ประกาศนียบัตร
ภาษาไทย
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
อักษรย่อ รป.ม.
ภาษาอังกฤษ Master of Public Administration
อักษรย่อ
M.P.A.
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาบังคับ
21 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 3-6 หน่วยกิต
หมวดวิชาการศึกษาอิสระ / วิทยานิพนธ์ 6 / 12 หน่วยกิต

top..

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย 1. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
2. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ 1. Master of Education Program in Educational Administration
2. Master of Education Program in Curriculum and Instruction Development
ประกาศนียบัตร
ภาษาไทย
1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้)
อักษรย่อ 1. ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)
2. ศษ.ม. (การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้)
ภาษาอังกฤษ Master of Education (Educational Administration)
Master of Education (Curriculum and Instruction Development)
อักษรย่อ
M.Ed. (Educational Administration)
M.Ed. (Curriculum and Instruction Development)
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาบังคับ
21 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 6-12 หน่วยกิต
หมวดวิชาการศึกษาอิสระ / วิทยานิพนธ์ 6 / 12 หน่วยกิต

top..

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
ภาษาอังกฤษ Master of Business Administration Program in Management
ประกาศนียบัตร
ภาษาไทย
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ)
อักษรย่อ บธ.ม. (การจัดการ)
ภาษาอังกฤษ Master of Business Administration (Management)
อักษรย่อ
M.B.A. (Management)
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาบังคับ
21 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 6-12 หน่วยกิต
หมวดวิชาการศึกษาอิสระ / วิทยานิพนธ์ 6 / 12 หน่วยกิต

top..

รายละเอียดวิชาในหลักสูตร Master of Business Administration (Management)

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา หลักเศรษฐศาสตร์ สถิติเบื้องต้น
คอมพิวเตอร์สำหรับบัณฑิตศึกษา หลักการบัญชี
หมวดวิชาแกน (21 หน่วยกิต)

การบริหารองค์การเชิงบูรณาการ การบริหารการผลิตและดำเนินการ การบริหารการเงิน
การบริหารการตลาด การบัญชีเพื่อผู้บริหาร ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
หมวดวิชาเลือก (12 หน่วยกิต)

การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ การเป็นผู้ประกอบการ
การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการมาตรฐาน
เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ การวางแผนและการบริหารโครงการ สัมมนาทางการจัดการ
วิทยานิพนธ์สำหรับ แผน ก (12 หน่วยกิต) หรือ การศึกษาอิสระ สำหรับแผน ข ( 6 หน่วยกิต)

top..


--------------------------------------------------------------------------------